Skip to content Skip to footer

IVF/ICSI

IVF และ ICSI คืออะไร และต่างกันอย่างไร?

การทำ IVF คือ วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยจะทำการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกันในจานเพาะเลี้ยง ภายใต้สภาวะอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสมทำให้เกิดการปฏิสนธิและมีการแบ่งตัวของเซลล์ตัวอ่อน โดยจะปล่อยให้สเปิร์มเลือกเข้าไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ เมื่อไข่และอสุจิเกิดการปฎิสนธิที่ภายนอกแล้วจึงนำไข่ที่ผสมจนเป็นตัวอ่อนนำกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ต่างกับการทำ IVF ตรงที่การปฏิสนธิ โดยจะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ฝ่ายชายมีปริมาณตัวอสุจิน้อย หรือมีความผิดปกติในการหลั่งน้ำอสุจิได้อย่างมาก

ดังนั้นจะเห็นว่า จุดต่างของ 2 วิธีนี้ คือ ICSI เป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง และ IVF เป็น การปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งในกลุ่มที่สเปริ์มไม่แข็งแรง การทำ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เนื่องจากเราสามารถคัดเสปิร์มที่แข็งแรงมาปฏิสนธิได้เลย ดังนั้นการทำอิ๊กซี่ (ICSI) จึงนิยมมากว่าการทำ IVF แบบดั้งเดิม

IVF / ICSI จะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีประสบปัญหาเรื่องมีบุตรยากได้ อย่างไรก็ตามต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรมีการเตรียมตัวที่ดีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสำหรับขั้นตอนการทำ IVF และ ICSI

การทำเด็กหลอดแก้ว IVF เหมาะกับใครบ้าง

1. คู่สมรสฝ่ายหญิง มีท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้างหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย
2. คู่สมรสฝายชาย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ ได้แก่ มีจำนวนอสุจิน้อย, อสุจิเคลื่อนที่ได้ไม่ดี
3. คู่สมรสที่ยังไม่ทราบสาเหตุการมีลูกยาก และได้พยายามมีบุตรมามากกว่า 1 ปีแล้ว
4. คู่สมรสที่เคยใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียม โดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์
5. คู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการไม่ตั้งครรภ์
6.ฝ่ายหญิงตรวจพบมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Endometriosis)

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนรักษา

• ฝ่ายหญิงและชาย รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่เสริมด้วยวิตามินที่เหมาะสม
• ควรพักผ่อนเพียงพอ โดยนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• งดการสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
• ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์