Skip to content Skip to footer

ความแตกต่างระหว่าง การทำเด็กหลอดแก้ว และการทำกิ๊ฟ

ความแตกต่างระหว่าง การทำเด็กหลอดแก้วและการทำกิ๊ฟ

Pregnant woman with ultrasound photo sitting on bed

หมดปัญหาคาใจ เมื่อคู่รักต้องตัดสินใจรักษาภาวะมีบุตรยาก

ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการแต่งงานของประชากรในประเทศไทยค่อนข้างช้าลง และความพร้อมในการมีลูกของคนในยุคปัจจุบันก็ช้าลงไปด้วยอีกทั้งด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบในชีวิตประจำวัน ภาวะกดดันต่างๆ ในที่ทำงาน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การตั้งครรภ์ตามธรรมชาติเป็นไปได้ยาก

ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นในปัจุบัน ทำให้มีวิธีที่สามารถช่วยให้ผู้ที่กำลังประสบภาวะมีบุตรยากสามารถตั้งครรภ์ได้ ทั้งการทำเด็กหลอดแก้ว หรือที่ทุกคนเคยรู้จักว่าการทำกิ๊ฟ ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาภาวะภาวะมีบุตรยากนั้น ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของคู่รักที่คิดจะมีเจ้าตัวน้อย หลายคนต้้งข้อสงสัยว่า ระหว่างการทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’ หรือ ‘ทำกิ๊ฟ’ การรักษาทั้งสองรูปแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร และรูปแบบไหนดีกว่า
ในทางการแพทย์แล้ว การรักษาทั้งสองรูปแบบ ระหว่างการทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’ หรือ การ ‘ทำกิ๊ฟ’ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งสองรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คู่รักต้องศึกษา และพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพื่อผลลัพธ์ปลายทางคือ ความสำเร็จของการตั้งครรภ์

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ In-Vitro Fertilization (IVF) วิธีการนี้จะคัดเลือกเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายหญิงที่เรียกว่าไข่มาผสมกับเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายชายคืออสุจิในอุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์ เป็นการเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง จนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยะตัวอ่อนวันที่ 5 ซึ่งเรียกว่า ระยะบลาสโตซีสท์ (Blastocyst) จากนั้นจะนำเอาตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและฝังตัวต่อไป สำหรับการเตรียมตัวอ่อนหากมีตัวอ่อนที่เหลือ แพทย์จะนำตัวอ่อนที่แข็งแรงทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในรอบการรักษาต่อไปได้

จุดเด่นของการทำเด็กหลอดแก้วมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว มีความรวดเร็วมากกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเด็กในครรภ์ เช่น โรคที่จะถ่ายทอดไปยังลูกได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น นอกจากนี้คู่รักจะทราบเพศของตัวอ่อนก่อนที่จะย้ายกลับเข้าโพรงมดลูก จึงมีประโยชน์สำหรับคู่รักที่ฝ่ายชายมีความเสี่ยงของโรคบางชนิดและมีบุตรเป็นเพศชาย เช่น ตาบอดสี โรคเลือดฮีโมฟีเลีย นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนการตั้งครรภ์ได้ตามความเหมาะสม เพราะการทำเด็กหลอดแก้ว ตัวอ่อนสามารถเก็บรักษาแช่แข็งไว้ใช้ได้นานเป็น 10 ปี และสามารถนำตัวอ่อนมาใช้ได้ เมื่อต้องการจะตั้งครรภ์ และที่สำคัญไม่ต้องผ่าหน้าท้องหรือผ่าตั

ข้อจำกัดการทำเด็กหลอดแก้ว

· อาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วและการถ่ายฝากตัวอ่อน เช่น ปวดหัว ร้อนวูบวาบ กระสับกระส่าย รู้สึกไม่ดี หงุดหงิด อาจมีการเกิดอาการรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้รังไข่บวมและสร้างความเจ็บปวดได้
· การคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย การแท้งลูก อัตราการแท้งลูกของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เด็กหลอดแก้วอยู่ที่ 15-25% โดยอัตราจะแปรผันเพิ่มมากขึ้นตามอายุของผู้ที่ตั้งครรภ์
· ภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการเก็บไข่ ในขั้นตอนการเก็บไข่ ทั้งการใช้ยาสลบ ยาชา หรือที่แพทย์ต้องใช้เข็มดูดเอาไข่ออกมาอาจทำให้เกิดแผล มีเลือดไหล เกิดการติดเชื้อ และมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูก ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอาจไปฝังตัวที่บริเวณท่อนำไข่แทนที่จะฝังตัวและเจริญเติบโตภายในมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
· พิการแต่กำเนิด เป็นผลที่เกิดจากความเสี่ยงที่ผู้เป็นแม่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก แต่ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าการทำเด็กหลอดแก้วจะเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะพิการแต่กำเนิดมากขึ้น

การทำเด็กหลอดแก้ว(IVF) จึงเป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่ได้รับความนิยมในการทำเด็กหลอดแก้วมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำกิ๊ฟ ที่แทบจะไม่มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน

ทํากิ๊ฟ (GIFT) คืออะไร

การทำกิ๊ฟ หรือ Gamete Intra fallopain Transfer (GIFT) เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก โดยขั้นตอนนั้นเป็นการนำไข่และเชื้ออสุจิที่ยังไม่ผสมกัน แพทย์จะทำการผ่าตัด โดยการวางยาสลบคนไข้และผ่าตัดหน้าท้อง 3 รู นำเอาไข่และตัวอสุจิกลับไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิกันตามธรรมชาติ เมื่อปฏิสนธิกันเรียบร้อยแล้ว มีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและเกิดการฝังตัวในโพรงมดลูก จนเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด

การทำเด็กหลอดแก้วและทำกิ๊ฟต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันนวัตกรรม และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ุจะเหลือเพียงเด็กหลอดแก้ว ซึ่งขั้นตอนการรักษาจะมีความเหมือนกันในระยะแรก ๆ ของการเก็บไข่และอสุจิ โดยแพทย์จะมีการใช้ฉีดยากระตุ้นเป็นประจำ 10 – 12 วันซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบสนอง เพื่อให้เกิดการตกไข่ของฝ่ายหญิง เมื่อไข่ที่ตกมาสุกเต็มที่แล้ว แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่จากฝ่ายหญิง พร้อมทั้งเก็บอสุจิจากฝ่ายชายในวันเดียวกัน

การทำเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการของการรักษา โดยการนำไข่กับอสุจิผสมกันและทำให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกนั่นเอง
เมื่อเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จพบว่า การทำเด็กหลอดแก้ว มีอัตราตั้งครรภ์สะสมสูง 40-50% ต่อรอบการรักษา ส่วนอัตราความสำเร็จของการทำกิ๊ฟ ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพ โดยเฉลี่ยผู้หญิงอายุ 25-39 ปี ประมาณ 25-30% ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แต่เมื่อผู้หญิงมีอายุ 44-45 ปี พบว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ถึง 31.0%
ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆคู่รักปรารถนา หากคุณกำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับการรักษาผู้มีบุตรยากแบบครบวงจร โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่ประสบภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้สามารถเข้ามาปรึกษา และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว(IVF)

ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากร

Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.