Skip to content Skip to footer

ขั้นตอนการเก็บรักษาไข่ (egg freezing) ก่อนกระบวนการทำ IVF

ขั้นตอนการเก็บรักษาไข่ (egg freezing) ก่อนกระบวนการทำ IVF 

ก่อนทำ ivf ทำ icsi สิ่งที่คู่รักควรรู้ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บรักษาไข่

การทําเด็กหลอดแก้ว ทำivf หรือ ทำ icsi คือเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) โดยการนำสเปิร์มและไข่ออกมาทำการปฏิสนธิในห้องแล็ป ตามด้วยการฝังตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ หนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่ผู้มีภาวะมีบุตรยาก ควรรู้ก็คือขั้นตอนการรักษาไข่ ด้วยการแช่แข็งไข่ egg freezing หรือการฝากไข่ เพื่อทำให้คงประสิทธิภาพของเซลล์ไข่ไว้ในสภาพเดิม เสมือนการหยุดเวลาไว้

การแช่แข็งไข่คืออะไร?

การแช่แข็งไข่หรือการฝากไข่ (Egg Freezing or Oocyte Cryopreservation) ทางการแพทย์เป็นเทคนิคการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความเย็นในการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์หญิงซึ่งก็คือ ไข่ ถูกแช่แข็งโดยลดอุณหภูมิ -196°C ซึ่งจะทำให้เซลล์ทุกเซลล์หยุดการทำงาน เมื่อต้องการใช้ไข่ที่แช่แข็งไว้ ก็จะละลายออกมาผสมกับอสุจิ เพื่อนำมาปฏิสนธิกับตัวอสุจินอกร่างกาย

ขั้นตอนการฝากไข่ Egg Freezing มีอะไรบ้าง

การแช่แข็งไข่เป็นวิธีการรักษาภาวะเจริญพันธุ์สำหรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก และเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยการทำivf ทำ icsi ที่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรกเป็นระยะการเตรียม การกระตุ้นและติดตาม การเก็บไข่ และขั้นตอนสุดท้าย การฝากไข่

ขั้นตอนแรกระยะการเตรียมความพร้อม

  • แพทย์จะทำการซักประวัติและข้อมูลสุขภาพ เพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่า เหมาะสมหรือไม่ โดยทำการตรวจเลือด ตรวจหมู่เลือดอาร์เอช (Rh Group ) ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV) ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบ (HBsAg)
    ตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV) ตรวจหาโรคหัดเยอรมัน (Rubella IgG)
    ตรวจหาโรคธาลัสซีเมีย (Hemoglobin typing) และตรวจ LAB ANC (Absolute Neutrophil Count : ANC) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาว
  • แพทย์จะทำการตรวจฮอร์โมนการเจริญพันธุ์ ซึ่งจะตรวจทั้ง E2 (Estradiol), LH (Luteinizing Hormone), FSH (Follicle Stimulating Hormone), PRL (Prolactin) และทำอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อประเมินจำนวนฟองไข่ของคุณ ณ เวลานั้น หรือที่เรียกว่า AFC ว่าพร้อมสำหรับการกระตุ้นไข่หรือไม่ โดยการดูจำนวนและขนาดของฟองไข่เป็นหลักจากนั้นจะเริ่มทำการนัดหมายเพื่อให้มากระตุ้นไข่ ในรอบเดือนถัดไป

ขั้นตอน 2 กระตุ้นไข่และติดตาม

  • แพทย์จะให้ยาคุมกำเนิด กับคู่รักภาวะมีบุตรยาก ที่มีประจำเดือนหรือหลังการตกไข่ และทำการอัลตราซาวนด์อีกครั้ง เพื่อติดตามดูความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่
  • การกระตุ้นไข่ จำเป็นจะต้องฉีดยาฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้มดลูกผลิตไข่ออกมาครั้งละหลายๆ ใบ ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องกระตุ้นทุกวันเป็นเวลา 10-14 วัน จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การวัดฮอร์โมนต่อต้าน Mullerian (AMH) เพื่อให้ว่าการตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่ได้ดีเพียงใด เนื่องจาก AMH เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของปริมาณสำรองรังไข่
  • การฉีดยาเพิ่มเติม คู่รักภาวะมีบุตรยาก ทำivf ทำ icsi จะได้รับการฉีดยายับยั้งการตกของไข่
  • หลังจากเริ่มฉีดยับยั้งไข่ตกแล้ว โดยปกติจะเป็นเวลาที่รังไข่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ลดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เช่น การวิ่ง การออกกำลังกายแบบ เพื่อลดความเสี่ยงของการบิดตัวของรังไข่
  • การเฝ้าติดตาม แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวนด์และการตรวจเลือด และกำหนดปริมาณการฉีดยาของคุณ จำนวนครั้งของการพบแพทย์จะกำหนดโดยแพทย์ โดยประมาณ 2 สัปดาห์แรกของรอบเดือน จากนั้นความถี่ในการนัดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน

ขั้นตอนที่ 3 การเก็บไข่

  • ระหว่างก่อนการเก็บไข่ แพทย์จะทำการตรวจดูไข่เสมอว่า ไข่มีขนาดที่เหมาะสมแล้วและมีปริมาณที่มากพอแล้วหรือไม่ โดยขนาดที่เหมาะสมจะต้องไม่ต่ำกว่า 18 มิลลิเมตร และหากครบกำหนดการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นแล้ว แพทย์ก็จะทำการฉีดยากระตุ้นเพื่อให้ไข่สุกและตกพร้อมกันภายในเวลา 36 ชั่วโมง
  • ในขั้นตอนนี้ คู่รักมีภาวะมีบุตรยาก ทำivf ทำ icsi จะทราบว่าได้ไข่มากี่ใบ แต่อาจจะไม่รู้ว่าไข่ที่สุกแล้วถูก egg freezing ไปกี่ใบจนกว่าจะผ่านไป 24 ชั่วโมง โดยหลังจากเก็บไข่แพทย์ให้พักฟื้นประมาณ 30-60 นาที จากนั้นก็สามารถเดินทางกลับบ้าน
  • หลังจากการเก็บไข่ ทั่วไปภายใน 24 ชั่วโมง ฝ่ายหญิงอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้ เลือดในช่องคลอดเล็กน้อย ตะคริวที่ท้อง ท้องอืด และท้องผูก โดยแพทย์จะแนะนำทายาแก้ปวดและนำแผ่นความร้อนประคบอาการตะคริว หากมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก รู้สึกเป็นลมหรือหน้ามืดให้รีบมาพบแพทย์ทันที

ขั้นตอนที่ 4 ของการฝากไข่

  • ในกระบวนการขั้นตอนเก็บไข่ ทีมแพทย์จะทำการเก็บผ่านทางช่องคลอด โดยการส่องกล้อง ซึ่งจะมีการวางยาระงับการปวด จากนั้นก็นำเครื่องมือเข็มขนาดเล็กที่ติดหัวอัลตราซาวด์ค่อยๆ สอดเข้าไปส่องหาไข่ ก่อนจะทำเจาะดูดการไข่ออกมาตรวจสอบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำยา Cryoprotectant เข้มข้นสูงและทำให้เย็นอย่างรวดเร็วด้วยไนโตรเจนเหลว เพื่อคงสภาพไข่ไว้ให้พร้อมสำหรับ egg freezing ซึ่งกระบวนการนี้สามารถฝากไข่ได้นานกว่า 5 – 10 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่
  • การเตรียมเข้าสู่กระบวนปฏิสนธิด้วยการทำ icsi การเลือกตัวอสุจิที่มีลักษณะปกติมาเพียง 1 ตัวฉีดเข้าเซลล์ไข่ วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาน้ำเชื้ออสุจิอ่อน

อัตราความสำเร็จของการแช่แข็งไข่

จากข้อมูลของ American Society for Reproductive Medicine ถ้ามีคนแช่แข็งไข่เพียงใบเดียว โอกาสที่ไข่ใบนั้นจะทำให้เกิดการมีชีวิตรอดอยู่ะหว่าง 2- 12% ดังนั้นการแช่แข็งไข่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีมีโอกาสถึง 70% หากแช่แข็งไข่ที่โตเต็มที่ตั้งแต่ 9 ฟองขึ้นไป สำหรับคนอายุ 40 ต้น ๆ อาจต้องแช่แข็งไข่มากขึ้น 28 ใบขึ้นไป จะทำให้โอกาส 70% ดังนั้นการฝากไข่ควรมีอัตราดังนี้

  • อายุ 36 และต่ำกว่า : ควรเก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 14 ใบ
  • อายุ 37-39 ปี: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ใบ
  • อายุ 40-42 ปี: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 9 ใบ
  • อายุ 43 ปีขึ้นไป: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 7 ใบ

ใครบ้างที่ควรจะแช่แข็งเก็บรักษาเซลล์ไข่

  • หญิงที่ยังไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ในขณะนี้ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนและคุณภาพเซลล์ไข่
  • ผู้มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานเร็ว เช่น Turner syndrome
  • ผู้ที่ต้องผ่าตัดรังไข่ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ช็อคโกแลตซีสต์
  • กรณีเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วแต่สามีไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อเพื่อมาผสมในวันเก็บไข่ได้ ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อหรือจำนวนอสุจิไม่เพียงพอที่จะผสม

การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่การฝากไข่

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียด หรือพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องเครียด
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง ทานอาหารที่สมดุลกับร่างกาย
  • รับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ซึ่งก่อนรับประทานควรปรึกษาแพทย์
  • รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้า เพราะช่วยกระตุ้นจังหวะการหลับตื่นของเราให้ดีขึ้น

หากคุณเป็นคู่รักมีภาวะมีบุตรยาก ทำivf ทำ icsi Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากร เมื่อคู่รักตัดสินใจทำการรักษาผู้มีบุตรยาก ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.