Skip to content Skip to footer

การทำ icsi สามารถเลือกเพศได้หรือไม่?

การทำ icsi สามารถเลือกเพศได้หรือไม่?

ตรวจโครโมโซม NGS ตัวช่วยของคู่รักมีลูกยากและอยากเลือกเพศด้วยการทำ ICSI

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ สำหรับคู่รักที่ประสบกับปัญหามีลูกยากและอยากมีลูก บ่อยครั้งที่คู่รักหลายคู่มักเกิดคำถามที่ว่า เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI IVF สามารถเลือกเพศของลูกได้หรือไม่? ยิ่งสถานการณ์การมีบุตรในไทยต่ำลง แต่ละครอบครัวต้องการมีลูกเพียงคนเดียว ยิ่งทำให้เกิดความคาดหวังให้ลูกเป็นเพศที่ต้องการ การเลือกเพศเป็นหนึ่งในความปรารถนาของผู้ที่มีลูกยากและอยากมีลูก
เหตุผลที่ทำให้คู่รักที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก ต้องการเลือกเพศหลากหลายด้านด้วยกัน ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความเชื่อในเรื่องการสืบสกุล หรืออาจจะเกิดขึ้นกับในกรณีที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษมีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งได้ เช่น โรคสังข์ทอง (Anhidrotic Ectodermal Dysplasia), โรคเลือด G6PD, โรคดาวน์ซินโดรมบางประเภท ฯลฯ ในกรณีที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติว่าเป็นโรคเหล่านี้ลูกชายจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคได้ แต่ลูกสาวภาวะเสี่ยงนี้จะไม่เกิดขึ้น
แต่ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเลือกเพศด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วนั้น คู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูก ควรทำความเข้าใจปัจจัยการกำหนดเพศลูกก่อน เมื่อไข่ของฝ่ายหญิงมีโครโมโซมเพศเป็น XX ส่วนสเปิร์มของฝ่ายชายมีโครโมโซมเพศเป็น XY นั่นคือในน้ำอสุจิจะมีสเปิร์มอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ X คือ หญิง และ Y คือ ชาย แต่เมื่อเกิดการปฏิสนธิก็ขึ้นอยู่กับว่าสเปิร์มตัวไหนที่เข้าเจาะไข่ของแม่ๆ ถ้าสเปิร์มตัว X เจาะได้ กลายเป็นโครโมโซม XX ก็จะได้ลูกสาวและถ้าสเปิร์มตัว Y ชนะ กลายเป็นโครโมโซม XY ก็จะได้ลูกชาย

การทำ ICSI เลือกเพศได้หรือไม่

เป็นเรื่องที่คู่รักหลายคู่สงสัย ในกาารทำ ICSI เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว จะทำการคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์และทำการฉีดเข้าไปเพื่อให้ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก พอผสมกันแล้วจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ เมื่อตัวอ่อนพัฒนาไปอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป
สำหรับคู่รักที่ตัดสินใจรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ ICSI จริงๆ แล้วไม่สามารถเลือกเพศได้ เพราะเป็นการคัดเลือกตัวอ่อนตัวย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเท่านั้น โดยแพทย์จะพิจารณาตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติและสมบูรณ์ที่สุด ไม่ได้พิจารณาจากเพศ ดังนั้นการทำ ICSI จึงไม่สามารถเลือกเพศลูกได้ นอกจากนี้ตามประกาศแพทยสภาในเรื่องมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะมีข้อกำหนดเรื่องการเลือกเพศของลูกในเรื่องดังกล่าว
การดูเพศลูกของคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูก จะดำเนินการได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อน ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก จะทำได้เฉพาะการตรวจวินิจฉัยโรคตามความจำเป็น และต้องไม่กระทำในลักษณะการเลือกหรือกำหนดเพศ โดยสถานพยาบาลและแพทย์ผู้ให้บริการต้องได้รับหนังสือรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้ แต่หากคู่รักที่ทำ ICSI ทำร่วมกับวิธีการตรวจ NGS โครโมโซมตัวอ่อน ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก จะสามารถรู้เพศของตัวอ่อน ทั้งหมดนี้เป็นแค่ผลพลอยได้ที่ทำให้ทราบถึงเพศลูกเพียงเท่านั้น แต่ถ้าต้องการเลือกเพศลูกเลยโดยที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องพันธุกรรมมาก่อนจะยังทำไม่ได้เพราะยังผิดกฎหมายของประเทศไทยอยู่

NGS (Next Generation Sequencing) คืออะไร

NGS หรือ Next Generation Sequencing เป็นเครื่องมือวิเคราะห์จีโนมชนิดที่สามารถวิเคราะห์และอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์หรือรหัสพันธุกรรมในดีเอนเอได้ครบทุกโครโมโซม เทคนิคนี้มีความละเอียดสูงและมีความแม่นยำสูงที่สุดของการวิเคราะห์สารพันธุกรรมในปัจจุบัน เพราะเครื่องมือ NGS จะทำหน้าที่อ่านรหัสพันธุกรรมโดยตรง ปราศจากการใช้สารเรืองแสงแบบ microarray
การใช้ NGS สามารถบอกความผิดปกติที่โครโมโซมครบทั้งจีโนม แล้วยังสามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ของโครโมโซมบางชนิดที่ไม่สารถตรวจพบด้วยเทคนิคอื่นๆ นอกจากนี้ NGS สามารถวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมที่เป็นความผิดปกติในยีนที่สงสัยว่าเป็นโรคซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ได้
สรุป NGS เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบส ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม ช่วยลดปัญหาที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว การแท้งในช่วงสามเดือนแรก หรือการตั้งครรภ์ที่โครโมโซมผิดปกติทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด โดยสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ครอบคลุมทั้ง 24 โครโมโซมได้ในครั้งเดียว มีความแม่นยำสูงและอัตราการผิดพลาดต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ

NGS ตรวจอะไรบ้าง

ในการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI IVF  คุณหมอจะแนะนำให้ใช้เทคนิค NGS หรือการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนในตอนที่ทำเด็กหลอดแก้ว เพราะสามารถตรวจโครโมโซมได้ครบทั้ง 23 คู่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดดาวน์ซินโดรม ช่วยให้มีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ลดโอกาสการแท้งให้น้อยลง และที่สำคัญสามารถรู้เพศของลูกได้ด้วย
ปกติคนเราจะมีโครโมโซมจำนวน 46 แท่ง หรือ 23 คู่ หากเกิดความผิดปกติ เช่น จำนวนโครโมโซมขาดหรือเกินไป อาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความพิการในระบบต่างๆ ได้ โดยกลุ่มอาการที่เกิดจากจำนวนโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อย คือ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งเป็นภาวะที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้เด็กมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมกับมีความพิการทางร่างกายหลายระบบ
ส่วนกลุ่มอาการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 13 หรือ 18 เกินมา เป็นกลุ่มอาการที่ทารกในครรภ์จะมีความพิการรุนแรงในหลายระบบ และทารกที่คลอดมาส่วนใหญ่มักมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานหลังคลอด ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซม มักพบอัตราการแท้งที่สูงกว่าทารกปกติ
นอกจากนี้การตรวจยังวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว เพื่อตรวจโรคที่เกิดจากยีนเดี่ยวเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนเดี่ยวที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้สามารถส่งผ่านสู่รุ่นลูกได้ หรือสามารถเกิดขึ้นเองในช่วงสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ความผิดปกติของยีนเดี่ยวเป็นปัจจัยส่วนมากของอาการต่างๆ รวมถึง ทารกที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด การเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย

ใครบ้างควรตรวจ NGS

· ฝ่ายหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี เริ่มเข้าข่ายมีบุตรยาก
· มีประวัติการแท้งบุตรหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
· คนในครอบครัวมีประวัติการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม
· เคยทำ IVF ICSI เด็กหลอดแก้ว ตั้งแต่ 2 ครั้ง และไม่ประสบผลสำเร็จ

ข้อดีการตรวจตัวอ่อนก่อนการฝังตัว

· ลดอัตราการยุติการตั้งครรภ์ ที่เกิดจากตัวอ่อนมีความผิดปกติ และลดโอกาสแท้งบุตร
· โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น
· ทราบความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
· สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงได้
· ลดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น

คู่รักที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก และเลือกวิธีการรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแบบ ICSI พร้อมกับต้องการตรวจโครโมโซมแบบ NGS หรือ Next Generation Sequencing ควบคู่ด้วยนั้น Genesis Fertility Center หรือ GFC Clinic เปิดให้บริการคู่รักที่มีลูกยาก ด้วยวิธีการดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สูงสุดถึง 70% และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการทำ IVF และยังมีการบริการให้ปรึกษาโดยแพทย์เฉพาะทางทุกเคส รวมถึงกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนโดยนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการทุกเคส และมีห้อง LAB เพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้มาตรฐานระดับสากล มีความสะอาดเทียบเท่าห้องผ่าตัดใหญ่ และยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง Eeva และเครื่องเลี้ยงตัวอ่อน Geri+ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้มากขึ้น
เมื่อรู้แล้วว่า การทำเด็กหลอดแก้วแบบ ICSI พร้อมกับต้องการตรวจโครโมโซมแบบ NGS หรือ Next Generation Sequencing สามารถปรึกษา Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก ได้ที่

Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.