Skip to content Skip to footer

ไม่จดทะเบียนสมรสทำเด็กหลอดแก้วได้ไหม

ไม่จดทะเบียนสมรสทำเด็กหลอดแก้วได้ไหม

มีบุตรยาก เช็คลิสต์กฎหมายให้พร้อม ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว ทำivf icsi

การแต่งงานของคู่รักทุกวันนี้ คู่รักหลายคู่อาจจะมองว่า ความรักไม่ได้อยู่ที่ทะเบียนสมรสหรือกฎหมาย บ้างก็มีเหตุผลทางธุรกิจ ทำให้ตัดสินใจไม่จดทะเบียนสมรส แต่เมื่อคู่รักประสบกับปัญหาภาวะมีบุตรยากขึ้นมา และตัดสินใจจะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ด้วยทำเด็กหลอดแก้ว ทำivf icsi ขึ้นมา การจดทะเบียนสมรสจะมีความสำคัญขึ้นมาทันที

การจดทะเบียนสมรส มีความสำคัญอย่างไร

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการรักษาและใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ คู่รักจำเป็นจะต้องจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรส เนื่องจากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดไว้ว่าการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ สำหรับคู่รักมีบุตรยาก ทำ ivf icsi ต้องใช้ทะเบียนสมรสเท่านั้น เพื่อป้องกันการอุ้มบุญโดยผิดกฏหมาย โดยคู่รักจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วยทุกครั้งที่เริ่มทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก

รู้กฎหมายก่อนรักษาภาวะมีบุตรยาก

  • มาตรา ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ ตามที่ แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
  • มาตรา ๑๖ ก่อนให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จะต้องจัดให้มีการตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาคอสุจิ หรือไข่ที่จะนำมาใช้ดำเนินการ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
  • มาตรา ๑๗ การสร้าง การเก็บรักษา การใช้ประโยชน์จากตัวอ่อน หรือการทำให้สิ้นสภาพของตัวอ่อน ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แต่จะกำหนดให้เก็บรักษาหรือใช้ประโยชน์จากตัวอ่อนที่มีอายุเกินกว่าสิบสี่วันนับแต่วันปฏิสนธิไม่ได้ ทั้งนี้ อายุของตัวอ่อนไม่นับรวมระยะเวลาในการแช่แข็งตัวอ่อน
  • มาตรา ๑๘ ในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อาจทำการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำในลักษณะที่อาจทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นการเลือกเพศการตรวจวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภา ประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
  • มาตรา ๑๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ การผสมเทียมต้องกระทำต่อหญิงที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับการผสมเทียมที่แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
  • มาตรา ๒๐ การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียมการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

เช็คลิสต์เกี่ยวกับกฎหมายเตรียมตัวให้พร้อม

1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือสถานประกอบกิจการที่จะเข้าใช้บริการ ประกอบด้วย โรงพยาบาล คลินิค ที่ให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกับผู้มีบุตรยาก ทำ ivf icsi ทำต้องมีการรับรองมาตรฐานจากกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ มีการตรวจเยี่ยมเพื่อต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี ต้องส่งข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมและข้อมูลทางสถิติทุกปี

2. การแช่แข็งตัวอ่อน ตามกฎหมายของประเทศไทย คู่รักที่มีบุตรยาก ทำ ivf icsi และมีความต้องการแช่แข็งตัวอ่อน ต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย โดยก่อนการแช่แข็งตัวอ่อนทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอม และทำการตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อ หากสามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้ว ต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต โดยจะต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข และอาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้

3.การแช่แข็งอสุจิ ตามกฎหมายของประเทศไทยก่อนการแช่แข็งอสุจิ คู่รักมีบุตรยาก ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf icsi จะต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอม และทำการตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาทิ เชื้อ HIV และภรรยาที่ต้องการใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากสามีก่อนเสียชีวิ อาจไม่สามารถใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้ และต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใชอสุจิแช่แข็งของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว

4.การบริจาคอสุจิ ในประเทศไทยถือว่าเป็นสิ่งถูกกฎหมาย โดยห้ามกระทำเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยผู้ที่ต้องการรับการบริจาคอสุจิจำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรส และคู่สมรสต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมรับอสุจิบริจาค และผู้บริจาคอสุจิจำเป็นต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคอสุจิ และผู้บริจาคอสุจิสามารถบริจาคอสุจิได้เฉพาะกรณีที่เมื่อบริจาคแล้วมีการตั้งครรภ์จนได้บุตรไม่เกิน 10 ครอบครัว โดยผู้บริจาคอสุจิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
• มีอายุระหว่าง 20-45 ปี ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต ต้องไม่เป็นญาติกับผู้รับบริจาค
• ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติด ความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรม และโรคติดต่อร้ายแรง (เช่น HIV หรือ AIDS)
• ผู้บริจาคอสุจิต้องยินยอมให้ตรวจหาเชื้อ HIV หรือ AIDS ก่อนส่งตัวอย่างอสุจิและตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากตรวจครั้งแรก 6 เดือนก่อนใช้อสุจิในขั้นตอนการรักษา

5. การบริจาคไข่ ในประเทศไทยถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่การบริจาคไข่เพื่อการค้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายรวมถึงห้ามผู้รับบริจาคไข่ รับไข่จากผู้บริจาคเกิน 1 คนในแต่ละรอบการรักษา ผู้ที่ต้องการรับการบริจาคไข่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า และสามีของผู้รับบริจาคไข่ต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมรับไข่บริจาค ผู้บริจาคไข่จำเป็นต้องลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคไข่ โดยผู้บริจาคไข่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
• กรณีเป็นญาติสายตรงกับผู้รับบริจาค สืบสายโลหิต โดยมิใช่มารดาหรือบุตร ต้องมีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี โดยมีหรือไม่มีสามีก็ได้
• กรณีไม่ใช่ญาติผู้บริจาคไข่ต้องมีอายุ 20 – 35 ปี ผู้บริจาคต้องมีหรือเคยมีสามีมาก่อน
• ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต
• บริจาคไข่ไม่เกิน 3 ครั้งในชีวิต โดยห้ามไม่ให้ผู้บริจาค บริจาคไข่มากกว่า 1 คนในแต่ละรอบการรักษา

6. การตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ซึ่งสามารถทำในกรณีฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี มีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน รวมทั้งเคยมีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม

สรุปคู่รักมีบุตรยาก และกำลังอยู่ระหว่างการวางแผนรักษามีบุตรยาก ทำivf icsi ก่อนเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf icsi และทำการรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ (IUI) ต้องจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์ ความพร้อมของครอบครัวที่เด็กจะเกิดมา และเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์หรือทำในเชิงพาณิชย์ โดยการเตรียมเอกสารการรักษามีบุตรยาก ทำivf icsi มีดังนี้

  • บัตรประชาชนทั้งของคู่รักทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  • ทะเบียนสมรสของคู่รัก และในกรณีที่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย จำเป็นต้องแปลและให้สถานทูตของประเทศนั้นๆ ทำการรับรอง
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

    หากคุณเป็นคู่รักมีบุตรยาก และวางแผนครอบครัวโดยใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ทำเด็กหลอดแก้ว ทำivf ทำ icsi เมื่อจดทะเบียนสมรสเรียบร้อย สามารถปรึกษาได้ที่ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากร เมื่อคู่รักตัดสินใจทำการรักษาผู้มีบุตรยาก ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.