Skip to content Skip to footer

ลูกแฝดแท้ ลูกแฝดเทียม ด้วยการทำicsi ทำivfคืออะไร

ลูกแฝดแท้ ลูกแฝดเทียม ด้วยการทำicsi ทำivfคืออะไร

เรื่องน่ารู้คู่รักที่อยากมีบุตรเป็นฝาแฝดด้วยการทำicsi ทำivf

ยิ่งนับวันอัตราการเกิดของเด็กฝาแฝดก็จะเพิ่มมากขึ้นบนโลกใบนี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ การทำivf และ ทำicsi หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ช่วยทำให้คู่รักที่เป็นคนรุ่นใหม่ปรารถนาอยากมีบุตรเป็นฝาแฝด ประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ และอีกปัจจัยหนึ่งมาจากคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูกและตัดสินใจรักษาภาวะมีบุตรยาก

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า เทรนด์อยากมีบุตรฝาแฝดเป็นอุบัติการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น สำหรับอัตราการเกิดฝาแฝดสถิติประเทศไทยในอดีตจะพบว่า การตั้งครรภ์แฝดสองจะอยู่ในอัตรา 1 ต่อ 89 นั่นหมายความว่า ในจำนวนคุณแม่ที่มีครรภ์เดี่ยว 89 ราย จะพบครรภ์แฝดสอง 1 ราย ส่วนครรภ์แฝดสามจะพบได้ยากยิ่งขึ้นในอัตรา 1 ต่อ 892 หรือราว 1 ต่อ 7,921 ราย ส่วนแฝด 4 นี่ยิ่งยากมากขึ้นไปอีกราว 1

เพื่อไขข้อสงสัยคู่รักสำหรับที่ปรารถนาอยากมีบุตรฝาแฝด และคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูก โดยทำการรักษาภาวะเจริญพันธ์ุด้วยการทำivf และ ทำicsi หรือทำเด็กหลอดแก้ว มาทำความรู้จักการตั้งครรภ์ฝาแฝดมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้

1.แฝดแท้ (Identical Twins)

แฝดแท้ (Identical Twins) หรือ Monozygotic Twins (เซลล์เดียวกัน) เกิดจากไข่ 1 ใบที่ปฏิสนธิอสุจิเพียงตัวเดียว แล้วแบ่งตัวออกเป็นตัวอ่อน 2 ตัวในระหว่างแบ่งเซลล์ จนพัฒนากลายเป็นทารกในครรภ์ 2 คน ที่หน่วยพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ เป็นเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน

สำหรับอัตราการเกิดของแฝดแท้จะอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของการตั้งครรภ์แฝดทั้งหมด โดยยังไม่มีข้อสรุปใดที่อธิบายได้ว่า แฝดแท้ ในช่วงปฏิสนธิเกิดการแบ่งตัวได้อย่างไร หรืออะไรคือสาเหตุทำให้เกิดแฝดแท้

2.ฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins)

ฝาแฝดเทียม เกิดจากที่ฝ่ายหญิงมีไข่ตก 2 ใบ ในรอบเดือนนั้นๆ โดยไข่แต่ละใบปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว และพัฒนาจนเป็นตัวอ่อน (embryos) หรือทารก 2 คนที่เติบโตอยู่ภายในมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงเวลาเดียวกัน ฝาแฝดประเภทนี้ เกิดจากไข่คนละใบที่ปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว

สำหรับอัตราการเกิดของแฝดเทียมจะอยู่ประมาณ 2 ใน 3 ของการตั้งครรภ์แฝดทั้งหมด แฝดเทียมอาจมีเพศเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ และมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันได้ โอกาสเกิดเป็นชายหรือหญิงก็มีเปอร์เซ็นต์เท่ากัน ดังนั้นจึงเรียกอีกชื่อว่า “แฝดเทียม” (non-identical twins) หรือ Dizygotic twins ซึ่งหมายถึง “สองเซลล์” หรือ “ที่มาจากไข่คนละใบ”

การตั้งครรภ์ฝาแฝดมีปัจจัยดังนี้

  • เชื้อชาติ พบว่าผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asia) และผู้หญิงเชื้อชาติฮิสแปนิก (Hispanic) มีโอกาสมีลูกแฝดน้อยกว่าผู้หญิงแอฟริกันและผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อชาติฮิสแปนิก
  • กรรมพันธุ์ครอบครัวของทั้งฝั่งพ่อและแม่ มีส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์แฝด แต่จะพบประวัติครอบครัวจากฝั่งมารดา มีบทบาทมากกว่าฝั่งบิดาอย่างมีนัยสำคัญในการตั้งครรภ์แฝด นอกจากนี้ และจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้น หากฝ่ายหญิง มีพี่สาว น้องสาว มารดา ยาย ที่ให้กำเนิดแฝดเทียม หรือตัวเธอเองเป็นหนึ่งในฝาแฝดเทียม
  • อายุของฝ่ายหญิง การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุ จากการศึกษา พบว่า 16% ของหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 45 ปี ตั้งครรภ์ลูกแฝด โดยเป็นแฝดสอง (twins) มากที่สุด นอกจากนี้ หญิงในช่วงวัย 30 ถึง 40 ปีมีแนวโน้มที่จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าวัยอื่น และอาจมีจำนวนไข่ตกได้มากกว่าหนึ่งฟองในแต่ละรอบเดือน
  • ประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า หากฝ่ายหญิงเคยตั้งครรภ์มาก่อน โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝด ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์แฝดได้มากยิ่งขึ้น
  • คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก คนที่น้ำหนักตัวมากมีโอกาสจะมีครรภ์แฝด เพราะมีไขมันส่วนเกินในร่างกายสูง ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น จนไปกระตุ้นรังไข่ให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบในช่วงตกไข่
  • การยาฉีดและยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ ส่งผลให้มีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนมากกว่า 1 ใบ จึงทำให้เกิดแฝดเทียมได้
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology, ART) เช่น การทำ In Vitro Fertilization หรือการทำ ivf มีส่วนเพิ่มอัตราการเกิดลูกแฝดเช่นกัน จากการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงมากกว่า 1 ตัวอ่อน
  • มีประวัติรักษาภาวะเจริญพันธุ์หรือภาวะการมีบุตรยาก การกินยารักษาภาวะมีบุตรยากบางชนิด อาจไปจนไปกระตุ้นรังไข่ให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบในช่วงตกไข่
  • หยุดกินยาคุมกำเนิดหลังจากที่กินตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนที่เคยถูกหยุดไว้ก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง ทำให้มีโอกาสที่ไข่จะตกรอบละหลายๆใบ และทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดได้

การทำivf หรือ การทำicsi เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝด สำหรับคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูก หรือคู่รักคนรุ่นใหม่ ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ครั้งเดียวแต่ได้ลูกถึง 2 คน จึงเป็นการประหยัดเวลาในการตั้งครรภ์ และยังมีลูกในวัยเดียวกันจึงเลี้ยงให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน หรือพูดง่ายๆ เหนื่อยครั้งเดียวและไม่เหนื่อยหลายรอบ แถมยังสนุกและมีความสุขไปกับการจับลูกๆทั้งสองคนแต่งตัวเหมือนกัน ซึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ุ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ฝาแฝด มีดังนี้

1 .การทำเด็กหลอดแก้ว หรือทำ ivf (IVF – In Vitro Fertilization) จะนำไข่และเชื้ออสุจิมาปฏิสนธินอกร่างกาย โดยจะใช้ตัวอสุจิที่คัดแล้วปล่อยลงไปล้อมรอบไข่ให้ตัวอสุจิแข่งกันเจาะเข้าไปในเปลือกไข่ด้วยตัวเอง ถือเป็นวิธีที่เหมือนธรรมชาติมากที่สุด ตัวอสุจิตัวแรกที่เจาะผ่านเปลือกไข่ได้จะทำให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น
2) การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection) การคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงที่สุดตัวเดียว แล้วใช้แล้วฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฎิสนธิ ซึ่งหากย้ายตัวอ่อน 1 ตัวจะมีโอกาสเกิดการตั้งท้องแฝดแบบแฝดแท้จากการแบ่งตัวของตัวอ่อนได้ 1% แต่ถ้าหากย้ายตัวอ่อนพร้อมกัน 2 ตัวอ่อน ก็จะมีโอกาสเกิดแฝดเทียมจากตัวอ่อน 2 ตัวนี้ถึง 30-40 %
3) การทำ IUI (Intra Uterine Insemination) แพทย์จะเลือกเอาเฉพาะอสุจิที่แข็งแรง แล้วฉีดเข้าไปที่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ในผู้ที่มีบุตรยาก วิธีมีโอกาสที่จะได้ครรภ์แฝดประมาณ 10-15%

ผลจากการตั้งครรภ์แฝด

  • การตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูก 2 คน ทำให้คนรอบข้างหลายคนมองว่าเป็นความโชคดี เพราะลูกแฝดน่ารักน่าเอ็นดู ใครเห็นก็รู้สึกหลงรัก
  • ลูกแฝด มีผลดีในด้านการเลี้ยงดูทำให้เด็กมีเพื่อนเล่น เป็นพี่น้อง ที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • สามารถแลกของใช้กันได้ ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ เพราะฝาแฝดส่วนมากจะมีความชอบอะไรที่เหมือน จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

ความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์แฝด

  • โอกาสทารกมีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากทารกในครรภ์ต้องแย่งสารอาหารกันจึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ทารกมักมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ปกติด้วย และอาจเกิดจากการเจริญเติบโตที่ช้าเองหรือการคลอดก่อนกำหนด
  • คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ ด้วยขนาดครรภ์ที่ใหญ่กว่าปกติ จึงทำให้มีปัญหาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ภาวะแทรกซ้อนของมารดา มีโอกาสครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงต่อการแท้ง และเลือดตกหลังคลอด
  • การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีโอกาสคลอดแบบคลอดธรรมชาติน้อย ส่วนมากต้องใช้วิธีผ่าคลอดแทน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับครรภ์แฝด

  • ความพิการแต่กำเนิดของทารก ที่มีโอกาสผิดปกติ 4% เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์เดี่ยวโดยปกติจะอยู่ 2% ของการตั้งครรภ์
  • มีโอกาสเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth retardation) ได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว
  • ทารกเสียชีวิตจากภาวะสายสะดือพันกัน กรณีตั้งครรภ์แบบทารกอยู่ในถุงน้ำคร่ำเดียวกัน
  • ความเสี่ยงจากภาวะแฝดที่ใช้รกร่วมกัน ทารกเสียชีวิตจากภาวะซีดรุนแรงและอีกคนเสียชีวิตจากภาวะบวมน้ำหรือหัวใจวาย เป็นต้น

โดยสรุป การตั้งครรภ์แฝดจัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงชนิดนึ่ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงทั้งต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ ทางการแพทย์จะไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการทำลูกแฝด แต้ถ้าหากคุณแม่ท่านไหนเป็นผู้มีบุตรยากหรืออยากมีลูกแฝด แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดเพื่อดูว่าสามารถตั้งครรภ์ลูกแฝดได้หรือไม่ มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน โดยทางแพทย์จะวางแผนในการรักษาให้ตามความเหมาะสมต่อไป ได้ที่ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ุให้กับสาวๆ หรือกระทั่งคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.